สายด่วน 1415
24 ชั่วโมง

การบริการและการรักษา

บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเผยแพร่ความรู้ และการบริการรักษาโรคหัวใจเด็กในระดับตติยภูมิ เพื่อการเป็นสถาบันระดับชาติ (National Institute)

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี รับผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดประมาณ 1 ใน 4 ของเด็กโรคหัวใจทั่วประเทศ คือมากกว่า 1,300-1,400 รายในแต่ละปี มีรูปแบบการให้บริการ ดังต่อไปนี้

  1. จัดบริการดูแลรักษา และรับส่งต่อผู้ป่วยเด็กในระดับตติยภูมิและสูงกว่า ด้วยมาตรฐานการดูแลรักษาในระดับสากล และ ทำงานเชิงรุกด้วยการสร้างเครือข่ายการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงไปทั่วประเทศ
  2. ให้การดูแลและวินิจฉัย ตลอดจนการรักษาด้วยเวชภัณฑ์ หรือการผ่าตัดรักษาด้วยศัลยแพทย์โรคหัวใจและทรวงอกที่มีความชำนาญ สามารถผ่าตัดรักษาโรคหัวใจในทุกกลุ่มอาการ รวมทั้งการรักษาโรคหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดที่เรียกว่าการสวนหัวใจเพื่อรักษา (catheter intervention) ในโรคระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเป็นเทคนิคการรักษาโรคหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัด แผลมีขนาดเล็ก และมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลสั้นกว่าการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (open heart surgery)
  3. ให้ความรู้ ฝึกอบรมภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติแก่บุคลากรทางการแพทย์แบบระยะสั้นด้วยการจัดประชุมวิชาการหรืออบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับพยาบาล และแบบระยะยาวด้วยหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอด รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจทั่วโลก

ความเชี่ยวชาญ

  • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหัวใจมีกุมารแพทย์โรคหัวใจที่มีความสามารถในด้านการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยสายสวน (Cardiac Catheterization Intervention) การดูแลผู้ป่วยวิกฤติ ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีศัลยแพทย์ทรวงอกและหลอดเลือดที่เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) ไปจนถึงโรคหัวใจพิการซ้ำซ้อน (Complex Heart Disease) และมีทีมวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการระงับความรู้สึกในการทำหัตถการทั้งสวนหัวใจและผ่าตัดในผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกคลอดจนถึงเด็กโต รวมทั้งยังมีทีมสหวิชาชีพที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาได้แก่ พยาบาลตรวจรักษาพิเศษสวนหัวใจ นักรังสีเทคนิค นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก นักปฏิบัติการเครื่องหัวใจและปอดเทียมและเจ้าหน้าที่ระบบงานสนับสนุนต่างๆ

1.หัตถการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยสายสวน

    1. การทำ Balloon Atrial Septostomy (BAS) ในทารกหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิด Transposition of the Great Arteries (TGA)

    2. การทำ Balloon Pulmonic Valvuloplasty เพื่อขยายลิ้นหัวใจ Pulmonic

    3. การทำ Balloon Aortic Valvuloplasty เพื่อขยายลิ้นหัวใจ Aortic

    4. การทำ Balloon Aortoplasty และใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent) ในโรค Coarctation of Aorta

    5. การทำ Device Closure ในผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจเกิน (Patent Ductus Arteriosus: PDA) เพื่อทดแทนการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบปิด (Closed Heart Surgery)

    6. การทำ Device closure ในผู้ป่วยรูรั่วผนังหัวใจห้องบน (Atrial Septal Defect: ASD) เพื่อลดการทำการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด (Open Heart Surgery) ในรายที่เหมาะสม

    7. การทำ Device closure ในผู้ป่วยรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง (Ventricular Septal Defect: VSD) เพื่อลดการทำการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด (Open Heart Surgery) ในรายที่เหมาะสม

    8. การเปลี่ยนลิ้นหัวใจพัลโมนารีทางสายสวน (Percutaneous Pulmonary Valve Implantation: PPVI)

    9. การใส่ขดลวดถ่างขยายในเส้นเลือดเกิน (Patent Ductus Arteriosus Stent) เพื่อลดความเขียวในผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดเขียวแต่กำเนิดรุนแรง

    10. การใส่ขดลวดถ่างขยายในผู้ป่วยที่พบว่ามีเส้นเลือดไปปอดตีบร่วมด้วย (Pulmonary Artery Stent) เพื่อลดการผ่าตัดแก้ไขซ้ำ

    11. การทำ Balloon และใส่ขดลวดถ่างขยายในเส้นเลือดเทียมตีบ (Stent: Aorto-Pulmonary Shunt/Conduit) เพื่อลดการผ่าตัดซ้ำ

2.การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open Heart Surgery) และแบบปิด (Closed Heart Surgery) รวมไปถึงการผ่าตัดหัวใจชนิดซับซ้อนในทารกแรกเกิด (Complex Open Heart Surgery in Newborn)

3.หัตถการรักษาด้วยการสวนหัวใจร่วมกับการผ่าตัด (Hybrid procedure)

เครื่องมือ

ปัจจุบันเครื่องมือและอุปกรณ์การรักษามุ่งเน้น non-invasive มากขึ้น และมีห้องสวนหัวใจ Hybrid ชนิด Biplane ที่ทันสมัยระดับสากล

เปิดบริการ

ในเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ 8.30 – 16.00 น.

โทร 1415 ต่อ 2504, 2506 หรือ 02-354-8327

สถานที่: อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 5

นอกเวลาราชการ กรุณาติดต่อห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โทร 1415 ต่อ 2201, 2202

Line Official: @cardioqsnich

11

ผลการดำเนินงาน (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)

11
11
11

กิจกรรม/โครงการสำคัญ

  1. โครงการสร้างเครือข่ายการคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่รุนแรง
  2. ศูนย์ความร่วมมือเปลี่ยนลิ้นหัวใจทางสายสวน (International PPVI Training Hub)
  3. โครงการพัฒนาความร่วมมือการตรวจรักษาโรคหัวใจสำหรับเด็กในกลุ่มประเทศอาเซียน (AEC)
  4. การถ่ายทอดสวนหัวใจไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก (Live case transmission)CSI Congress: CSI Asia-Pacific 2022 and 2023/ CSI Frankfurt/ CSI NIC