สายด่วน 1415
24 ชั่วโมง

งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

บริการสำหรับประชาชน > บริการทางการแพทย์ > งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

วันเวลาและสถานที่

เปิดบริการ 24 ชั่วโมง

สถานที่: ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี         

โทรศัพท์: 1415 ต่อ 2202

แพทย์ประจำ

  • แพทย์ประจำบ้านหมุนเวียน

แพทย์ที่ปรึกษา

  • นายแพทย์ธวัชชัย กิระวิทยา

บริการและการรักษา

ให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต และเจ็บป่วยเฉียบพลัน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 15 ปี ผู้ป่วยวิกฤต หมายถึง บุคคลซึ่งที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกความต่อชีวิต เช่น หมดสติไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง  ซึมลงเหงื่อแตกตัวเย็น ชัก แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิตและสมองที่อาจเป็นอันตราย ต่อชีวิต โดยมีทีมกุมารแพทย์ และแพทย์เฉพาะทางร่วมในการรักษา ได้แก่

  • กุมารเวชกรรม
  • ทารกแรกเกิด
  • สมองและระบบประสาท
  • ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ศัลยกรรมทั่วไปและสมอง
  • ตา หู คอ จมูก
  • วิสัญญี
  • รังสี ฯลฯ

ขั้นตอนการรับบริการ

  1. การคัดกรองเพื่อประเมินอาการตามระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย รับใบประเมินระดับความเร่งด่วน
  2. ยื่นบัตรและเอกสารต่างๆที่แผนกเวชระเบียน
  3. ตรวจสอบสิทธิการรักษา
  4. ตรวจวัดสัญญาณชีพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รับบัตรคิว รอเรียกตรวจ
  5. เข้ารับการการตรวจรักษาตามความเร่งด่วน
  6. กรณีอาการรุนแรง รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ลงนามเอกสารยินยอมให้การรักษา กรณีกลับบ้าน รับคำแนะนำ และรับใบนัด รับยา ชำระค่าบริการ (ถ้ามี)

การประเมินความเร่งด่วนเพื่อการตรวจรักษา

ระดับ 1 (สีแดง) ผู้ป่วยวิกฤต : พบแพทย์ทันที

ระดับ 2 (สีเหลือง) ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก ได้รับการดูแลรักษา ภายใน 15 นาที

ระดับ 3 (สีเขียว) เจ็บป่วยเฉียบพลันไม่เร่งด่วน ได้รับการดูแลรักษา ภายใน 15-45 นาที

ระดับ 4 (สีขาว) ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน ได้รับการดูแลรักษาหลังจากตรวจผู้ป่วยระดับ 1,2 และ 3 เสร็จแล้ว

      กรณีผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง: เข้ารับการตรวจในห้องแยกโรค

หมายเหตุ

หากต้องการใบรับรองแพทย์ในการตรวจ กรุณาแจ้งแพทย์ที่ตรวจทุกครั้ง